อยากลาออก แต่ตัดสินใจไม่ได้สักที กลายเป็นวัฏจักรการคิดที่ไม่จบสิ้นควรทำอย่างไร?

ความกังวลเรื่องงานที่บอกใครไม่ได้ เก็บไว้ก็แสนอึดอัดใจจะบอกออกไปก็ไม่กล้า แต่ที่แน่ ๆ คือ ฉันเริ่ม อยากลาออก จากที่นี่เสียแล้ว พอคิดแบบนี้ก็ยิ่งกังวลหนักขึ้นไปอีก จะจัดการกับก้อนขมุกขมัวนี้อย่างไรดี

ทุกคนต่างมีข้อกังวลเกี่ยวกับการทำงานที่เก็บไว้ในใจแบบบอกใครไม่ได้ คุณเชื่อแบบนั้นไหม อาจจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงความคิดที่ว่า “อยากลาออก”

“เพื่อนร่วมงานที่เก่งๆ
ต่างทยอยลาออกไปเกือบหมด
แล้วเราอยู่อย่างนี้ต่อไปจะดีหรือ”

“สักวันหนึ่ง
งานที่ทำอยู่
จะมีโอกาสหายไปไหม”

“ใจหนึ่งก็รู้ว่าทู่ซี้ต่อไปคงไม่ดี
แต่อีกใจก็กังวลว่าถ้าเปลี่ยนงานแล้ว
เงินเดือนลดลงจะทำยังไง”

ความคิดเหล่านี้วงเวียนอยู่ในหัวแบบไม่จบไม่สิ้น ถ้าแบบนี้เรียกว่าการตบตีกับตัวเอง คงตัวช้ำแล้วแน่ ๆ มาทลายกรอบความกลัวการลาออกและความกังวลที่บอกใครไม่ได้จนอึดอัดใจ กับหนังสือ “วิธีคิดของคนค่าตัวแพง” รวมถึงค้นหาวิธีการลาออกจากงานเป็นครั้งสุดท้ายที่จะทำให้พบกับงานที่ทำให้มีกินมีใช้ตลอดชีวิต

หนังสือ วิธีคิดของคนค่าตัวแพง

ผู้เขียน คิตาโนะ ยุยหงะ

ผู้แปล กิษรา รัตนาภิรัต คุโด

สำนักพิมพ์ howto

หนังสือเล่มนี้จะบอกกับคุณอยากอ่อนโยนว่า “ไม่ว่าใคร การเปลี่ยนงานครั้งแรกก็น่ากลัวทั้งนั้น” ผลพลอยได้ที่มาพร้อมกับความคิดว่า “อยากเปลี่ยนงาน” คือความกังวลที่สลับกันผุดขึ้นมาในหัว เช่น “จะหางานได้ไหมถ้าเราไม่ได้เก่งด้านไหนเป็นพิเศษ” “กลัวงานใหม่แย่กว่าเดิม” “อายุงานเท่านี้โอเคไหมที่จะลาออก”

แต่ไม่ต้องกังวลเพราะ “เมื่อมาถึงทางแยกของเส้นทางอาชีพ แม้แต่คนที่ทำงานในองค์กรมั่นคงก็ยังรู้สึกไม่ปลอดภัย” หนังสือเล่มนี้จะพาเราไปเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อ ค้นหามูลค่าตลาดของตัวเองที่นึกอยากจะเปลี่ยนงานเมื่อไหร่ก็ได้

เล่มนี้เป็นผลงานขายดีของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบชีวิตการทำงาน “คิตาโนะ ยุยหงะ” ว่าด้วยเทคนิค “เลือกงานที่ใช่” ของคนเก่งที่อยากเปลี่ยนงานเมื่อไหร่ก็ได้


4 ขั้นตอนเปิดตัวเองสู่ตลาดที่เติบโตก่อนหมดอายุขัย

STEP 1 ประเมิน ‘มูลค่าตลาด’ ของตัวเอง

ในเล่มนี้บอกไว้ว่า มูลค่าทางตลาดของเรากำหนดได้ด้วยปัจจัย 3 อย่าง คือ

1.สินทรัพย์ด้านทักษะ -มาจากความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง กับ ประสบการณ์ ถ้าสิ่งเหล่านี้ต่อยอดในบริษัทอื่นได้ไหม ถ้าไม่ได้ จะไม่นับว่าเป็นทรัพย์สินทางทักษะ

2.สินทรัพย์เรื่องคน – คนที่มี คอนเน็กชัน เข้าได้กับทุกคนและเป็นที่เอ็นดู

3.ผลิตภาพของสายงาน – คนในสายงานนั้นสร้างมูลค่าเฉลี่ยหรือกำไรสะสมต่อคนมากแค่ไหน มูลค่าตลาดจะขึ้นอยู่กับ ผลิตภาพของสายงานนั้นมากกว่าอย่างอื่น

STEP 2 รู้ ‘อายุขัย’ ของงานปัจจุบัน

งานทุกงานเกิดขึ้นแล้วหายไปตามวัฏจักรชีวิตงาน บริษัทเปลี่ยนงานทุกอย่างให้เป็นระบบ ให้ใครก็สามารถทำแทนได้และถ้างานตอนนี้อยู่ในกลุ่ม “‘งานเฉพาะกลุ่ม” แปลว่าเป็นบันไดเลื่อนขาขึ้น แต่ถ้าอยู่ในกลุ่ม “งานทั่วไป’ ที่ใช้เครื่องจักรทำถูกกว่า แปลว่าเป็นบันไดเลื่อขาลง

STEP 3 เบนเข็มไปยังตลาดที่เติบโตก่อน จุดแข็งของคุณจะหมดอายุ

วิธีที่ 1 ดูสาเหตุที่ทำให้บริษัทสตาร์ทอัปหลายแห่งเติบโต นั่นคือการตามกระแสโลก เขาใช้วิธีสู้ด้วยการเป็นมิตรกับกระแสโลก จนบริษัทเล็ก ๆ เหล่านี้กลายเป็นคู่แข่งของบริษัทใหญ่

วิธีที่ 2 ดูตรรกะที่เล็งความไร้ประสิทธิภาพของสายงานที่มีอยู่แล้ว ก็คือสิ่งที่ใครก็มองว่ามีคุณค่าแต่แท้จริงกลับไม่มีหรือสิ่งที่คนพึ่งรู้ว่ามีมูลค่าจากการเล็งเห็นของใครสักคน จึงเกิดเป็นมูลค่า

STEP 4 มองให้ออกว่าบริษัทไหนโตสุดในตลาดที่เติบโต

หลักเกณฑ์ 3 ข้อในการเลือกบริษัท คือ 

1.มูลค่าตลาด 
2.ความสะดวกในการทำงาน
3. โอกาสใช้ความสามารถ ถ้าความสามารถไม่ขัดแย้งกับมูลค่าตลาดจะไปกันได้ในระยะยาว

  • ถ้า “ความสะดวกในการทำงาน” ไม่ได้ขัดแย้งกับ “มูลค่าตลาด” จะไปด้วยกันได้ในระยะยาว
  • คำถาม 3 ข้อเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ที่จะได้ใช้ความสามารถ

1. มองหาคนแบบไหนอยู่ คาดหวังให้ใช้ความสามารถอย่างไร

2. คนในบริษัทตอนนี้ที่ได้ใช้ความสามารถเต็มที่กว่าคนอื่นและได้รับการประเมินสูงเป็นคนแบบไหน ทำไมเขาถึงใช้ความสามารถได้เต็มที่

3. คนที่เข้ามากลางคันแบบเราและได้ใช้ความสามารถเต็มที่อยู่แผนกใด รับผิดชอบงานแบบไหน

อยากลาออก แต่มีความคิดว่า “การเปลี่ยนงานเป็นเรื่องไม่ดี” 

ถ้าใครขังตัวเองไว้ในกรงโดยปักใจเชื่อว่า ‘ลาออกไม่ได้’ เพราะไม่มีทางเลือก มันก็ไม่ต่างอะไรกับการโกหกนิดๆ หน่อยๆ นั่นแหละ เพราะคำพูดที่ว่าการเปลี่ยนงานเป็นเรื่องไม่ดี เป็นแค่ข้อแก้ตัวน้ำขุ่นๆ ของคนที่ไม่ยอมลงทุนลงแรงให้ได้มาซึ่งทางเลือกใหม่ๆ 

เราทุกคนมีสิทธิ์เลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง การเปลี่ยนงานเป็น ‘เรื่องดี’ ทั้งสำหรับตัวคนนั้นเองและสังคมด้วย การฝืนอยู่ต่อทั้งที่ไม่โอเค นอกจากจะทำให้หมดไฟได้ง่าย ๆ แล้วเราเองก็อาจจะส่งต่อพลังงานลบต่อสภาพแวดล้อมการทำงานโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย

ถึงคุณจะไม่อยู่บริษัทก็ยังเดินต่อได้

-หนังสือ วิธีคิดของคนค่าตัวแพง

หรือด้วยจิตวิญญาณของคนที่รักงานเป็นชีวิตจิตใจ คุณอาจจะห่วงว่า ถ้าฉันลาออกแล้วงานที่รับผิดชอบจะเป็นอย่างไร คนอื่นจะลำบากมากไหม บริษัทเดินหน้าต่อไปอย่างไร ขอให้จงหยุด หยุดเดี๋ยวนี้ เพราะถึงไม่มีเรา บริษัทก็ต้องเดินต่อไปให้ได้ รวมถึงตัวคุณเองที่ต้องเดินต่อไปข้างหน้าและค้นหาเส้นทางที่ใช่เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

Great work creates a great life.

บทความโดยสำนักพิมพ์ howto


บทความแนะนำสำหรับคุณ

พูดให้ง่าย ๆ คือไม้ตายของคนเก่ง ทักษะการสื่อสาร สำคัญที่คนทำงานไม่ควรมองข้าม

อย่าด่วนเชื่อเรื่องใด ๆ ถ้ายังไม่ Rethink คิดหลายชั้น !

3 กลยุทธ์การปรับตัว หากคุณกำลังรู้สึกกลัวลำดับความสำคัญถูกปล้นชิง !

Leave a Reply

Your email address will not be published.

Like
Close
Copyright © 2022
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Close